"บ้านเมืองน่าอยู่ อาชีพมั่นคง ดำรงธรรมาภิบาล"
"บ้านเมืองน่าอยู่ อาชีพมั่นคง ดำรงธรรมาภิบาล"
หมายถึง การพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทราให้เป็นเมืองน่าอยู่ กล่าวคือ
เป็นเมืองที่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการรองรับอย่างเหมาะสม
มีระบบการวางผังเมืองที่มีประสิทธิภาพ
ทำให้เกิดความความสะดวกสบายในการอยู่อาศัยและดำเนินกิจกรรมต่างๆร่วมกันอย่างมีความสุข
ประชาชนมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี
มีทรัพยากรธรรมชาติเพียงพอต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน มีสังคม วัฒนธรรม การศึกษา
และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ยั่งยืนดีงาม มีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดี ประชาชน
มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
โปร่งใส ตรวจสอบได้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ประชาชนมีระเบียบวินัย เป็นคนดี
คนเก่ง พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกสาธารณะ พึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี
หมายถึง การส่งเสริมการพัฒนา การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
เพื่อสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้กับคนยากจน
สามารถก่อร่างสร้างตัวและพึ่งตนเองได้มากขึ้น
ส่งเสริมการรวมกลุ่มชุมชนเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง ผ่านกระบวนการเรียนรู้
ให้เกิดการร่วมคิดร่วมทำ แก้ไขปัญหาของตนเอง ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพ
การพัฒนาฝีมือแรงงงาน เพิ่มรายได้
และการสนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
หมายถึง การพัฒนาให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา
เป็นองค์กรแห่งธรรมาภิบาล ที่ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและสังคมที่ดี (Good
Governance) บนหลักพื้นฐาน 6 ประการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส
หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า
1.
ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
เพื่อรองรับความเจริญเติบโตในอนาคต มีระบบการวางผังเมืองรวมที่มีประสิทธิภาพ
2. ส่งเสริมปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษา ศาสนา
การอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
3. ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาศักยภาพของคน และชุมชนให้เข้มแข็ง และสามารถพึ่งพาตนเองได้
4. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
5. ส่งเสริมการพัฒนาการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก การสร้างงาน สร้างอาชีพ
และสร้างรายได้
6. พัฒนาระบบการจัดการที่ดี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
การวางแผนพัฒนาการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการพัฒนา
1. การคมนาคมขนส่งมีมาตรฐานและเพียงพอ มีระบบผังเมืองรวมของจังหวัด
2. ประชาชนมีการศึกษา มีคุณธรรม รักและหวงแหนศิลปวัฒนธรรมและความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีระบบทางสังคมที่เข้มแข็ง และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4. มีระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
5. มีเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง ประชาชนมีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้เพิ่ม
6. การบริหารความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารและการพัฒนา